ชื่อโรงเรียน : โรงเรียนสัตหีบ เขตฐานทัพเรือสัตหีบ

อักษรย่อ : สห.

ที่ตั้ง : เลขที่ 2377/1 หมู่ 1 ซอยจรดลศึกษา ถนนวุฒิชัย ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี รหัสไปรษณีย์ 20180

เบอร์ติดต่อ : 038-308694, 080-2216830

สังกัด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3

โรงเรียนสัตหีบ เกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2479 เพื่อให้การศึกษาแก่บุตรหลานของข้าราชการ ลูกจ้าง และคนงาน ในสังกัดกองทัพเรือที่ย้ายมารับราชการที่สัตหีบ ได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราว ขึ้นที่บริเวณแหลมเทียน 1 หลัง เป็นอาคารหลังคามุงจากไม่มีฝา เป็นพื้นทราย มีนักเรียนประมาณ 100 คน เปิดสอนตั้งแต่ชั้น ป.1 – ป.4 มีนาวาโท หลวงเนาพลรักษ์ เป็นเจ้าของ และ นายสร้อย สุขศิริมัช เป็นครูใหญ่

พ.ศ. 2480 ได้ย้ายโรงเรียนไปอยู่ที่อาคารของทางราชการข้างเรือนจำและได้จดทะเบียนเป็นโรงเรียนราษฎร์ชื่อ “โรงเรียนสถานีทหารเรือสัตหีบ”

พ.ศ. 2502 เปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่ตามมติของสภากองทัพเรือเป็น “โรงเรียนสัตหีบ” เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2502 ได้เปิดทำการสอนถึงชั้นเตรียมอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์เป็นปีแรก ในช่วงแรกจัดการศึก๋่ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจัดการศึกษาระดับอนุบาล ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 2 แห่ง ได้แก่

1. โรงเรียนสัตหีบ เขตฐานทัพเรือสัตหีบ

– เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้น อนุบาล 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3

– ผู้บริหาร ครู และบุคลากร จำนวน 127 คน

– นักเรียนจำนวน 1,498 คน

2. โรงเรียนสัตหีบ เขตกองเรือยุทธการ

– เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้น อนุบาล 1 –  ประถมศึกษาปีที่ 6

– ผู้บริหาร ครู และบุคลากร จำนวน 96 คน

– นักเรียนจำนวน 963 คน

รวมนักเรียนทั้ง 2 เขต เป็นจำนวน 2,461 คน

ปรัชญา รักเรียน รู้เล่น คิดเป็น ทำได้ แก้ไขปัญหา รักษาวินัย

คำขวัญ รักเกียรติ รักหน้าที่ มีวินัย มีจิตใจใฝ่ทำความดี

สัญลักษณ์

สมอ : สักลักษณ์กองทัพเรือและโรงเรียน

ม้าน้ำ : บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงเรียน

รัศมีแสงไฟ : ความเจริญก้าวหน้าของสถานศึกษาและการศึกษาของเยาวชน

สีประจำโรงเรียน สีน้ำเงิน – ขาว

ดอกไม้ประจำโรงเรียน ดอกประดู่ / ต้นประดู่

อัตลักษณ์ ลูกนาวี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้

เอกลักษณ์ แต่งกายคล้ายนาวี เอกลักษณ์มีธงสองมือ

วิสัยทัศน์ มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ บริหารงานอย่างเป็นระบบ

พันธกิจ

พัฒนางานวิชาการจัดกระบวนการเรียนรู้สู่มาตรฐาน

  1. พัฒนาระบบบริหารเน้นการมีส่วนร่วมและการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ
  2. จัดการเรียนรู้รักษ์ความเป็นไทย
  3. ยกระดับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และจัดหาเทคโนโลยีที่ทันสมัยใช้ในการเรียนการสอนและการประสานงาน
  4. จัดการเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เป้าประสงค์

  1. ผู้เรียน ครู และบุคลากรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีผลต่อการเรียนรู้ ตามเกณฑ์มาตรฐานชาติ
  2. ครูและบุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา
  3. ผู้เรียน ครู และบุคลากรได้รับการดูแลด้านสุขภาพอนามัยและสวัสดิการ อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
  4. ผู้เรียน ครู และบุคลากรตระหนักในความเป็นไทย จัดกิจกรรมและเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาและประเพณีไทย
  5. ผู้เรียน ครู และบุคลากร ตระหนักและช่วยกันดูแล ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
  6. ผู้เรียน ครู และบุคลากรมีความสามารถใช้เทคโนโลยี ในการปฏิบัติงานและสามารถใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
  7. ผู้เรียน ครู และบุคลากร ตระหนักในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม